ประกัน KEY MAN ประกันสำหรับผู้ประกอบการ
..บริษัทที่ต้องการลดภาษี โดยการทำประกันให้กับกรรมการ
..บริษัทที่ต้องการลดภาษี โดยการทำประกันให้กับกรรมการ
"ปัจจุบันนี้ผู้บริหารไม่ซื้อประกันชีวิตด้วยเงินของตนเองกันแล้ว แต่ใช้เงินของบริษัทมาซื้อประกันชีวิตแทน
และที่สำคัญบริษัทยังสามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้ทั้งหมด มาลงเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้เต็มจำนวนอีกด้วย"
ตัวอย่างและสิทธิประโยชน์ของการทำประกัน Key Man
ตัวอย่าง: บริษัทที่ทำประกัน KEY MAN ให้กรรมการ 500,000 บาท
(อัตราภาษีนิติบุคคลเท่ากับ 20% ของกำไรก่อนหักภาษี)
บริการของ Thai Life Product
ตัวอย่างข้อหารือ และข้อวินิจฉัยจากสรรพากร
ตัวอย่าง: บริษัทที่ทำประกัน KEY MAN ให้กรรมการ 500,000 บาท
งบการเงินของบริษัท | บาท | ![]() | งบการเงินของบริษัทที่ทำ KEY MAN | บาท |
รายได้รวม | 10,000,000 | รายได้รวม | 10,000,000 | |
รายจ่ายรวม | 8,000,000 | รายจ่ายรวม + เบี้ยประกัน KEY MAN | 8,000,000 + 500,000 | |
กำไรก่อนหักภาษี | 2,000,000 | กำไรก่อนหักภาษี | 1,500,000 | |
ภาษี | 400,000 | ภาษี | 300,000 |
(อัตราภาษีนิติบุคคลเท่ากับ 20% ของกำไรก่อนหักภาษี)
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการทำประกัน KEY MAN
¤ ผลประโยชน์ต่อที่ 1 นำเบี้ยประกันของกรรมการทุกท่าน (KEY MAN) มาจดเป็นค่าใช้จ่าย ทำให้ภาษีของบริษัทลดลง ~ 100,000 บาท
¤ ผลประโยชน์ต่อที่ 2 กรรมการทุกท่านจะได้รับผลประโยชน์จากการทำประกันชีวิตด้วยเบี้ยประกันรวม500,000 บาท
¤ ผลประโยชน์ต่อที่ 2 กรรมการทุกท่านจะได้รับผลประโยชน์จากการทำประกันชีวิตด้วยเบี้ยประกันรวม500,000 บาท
หลักการปฏิบัติการทำประกัน KEY MAN
1. ต้องให้กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการทุกๆคน เพื่อเป็นการทั่วไป และต้องมีเบี้ยประกันชีวิตที่เหมาะสมและสมควร
2. ต้องมีการบันทึกวาระการประชุมต่างๆอย่างละเอียด มีมติที่ประชุมของบริษัทฯ และต้องมีการเขียนระเบียบการของบริษัทฯ อย่างชัดเจน
3. ต้องมีการบันทึกหลัการทางบัญชีอย่างถูกต้อง และการเก็บเอกสารอย่างครบถ้วน
3. ต้องมีการบันทึกหลัการทางบัญชีอย่างถูกต้อง และการเก็บเอกสารอย่างครบถ้วน
บริการของ Thai Life Product
1. จัดทำเอกสารทั้งหมดอาทิเช่น รายงานการประชุม, บันทึกข้อตกลงแบนสัญญาจ้าง, สัญญาโอนประโยชน์ เด็ดขาด เพื่อรองรับการ ทำประกันชีวิตให้กับกรรมการ
2. นำใบเสร็จที่บริษัทฯรับรองการจ่ายเบี้ยให้กับกรรมการทุกท่าน นำมามอบให้จนเสร็จสมบูรณ์
3. ดูแลผลประโยชน์ด้านความคุ้มครองและตอบข้อสงสัยให้กับบริษัท และกรรมการทุกท่านให้เข้าใจ ถึง ประโยชน์ในการทำแบบประกันบุคคลสำคัญในองค์การ
4. เชิญผู้ประกอบและฝ่ายบัญชีของบริษัท เข้าร่วมสัมนาอบรมโครงการKey Man เพื่อจัดทำบัญชีอย่างถูก ต้อง
3. ดูแลผลประโยชน์ด้านความคุ้มครองและตอบข้อสงสัยให้กับบริษัท และกรรมการทุกท่านให้เข้าใจ ถึง ประโยชน์ในการทำแบบประกันบุคคลสำคัญในองค์การ
4. เชิญผู้ประกอบและฝ่ายบัญชีของบริษัท เข้าร่วมสัมนาอบรมโครงการKey Man เพื่อจัดทำบัญชีอย่างถูก ต้อง
![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() | ![]() |
อธิบาย แบบประกัน KEY MAN | จัดทำเอกสาร | ส่งมอบกรมธรรม์ | บริการ & คำปรึกษา แบบประกัน KEY MAN |
ตัวอย่างข้อหารือ และข้อวินิจฉัยจากสรรพากร
เลขที่หนังสือ | : กค 0811/408 | ![]() |
วันที่ | : 21 มกราคม 2543 | |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ | |
ข้อกฏหมาย | : มาตรา 42 (13), มาตรา 65 ตรี (3), (6), (13) | |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ ตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ เพื่อเป็นสวัสดิการและการตอบแทนคุณความดีที่บริหารธุรกิจ จนประสบความสำเร็จด้วยดีตลอดมา จึงหารือว่า
| |
แนววินิจฉัย | ||
![]() | 1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็น การทั่วไปตามระเบียบของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯมีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อความสะดวกในการแสดงหลักฐานให้บริษัท ประกันภัยหมายเหตุ ไว้ในใบเสร็จรับเงินให้มีข้อความว่าเบี้ยประกันชีวิตที่รับนี้ จ่ายโดยบริษัท… | |
![]() | 2. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มที่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทฯ ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานจะต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48 (1)แห่งประมวลรัษฎากร | |
![]() | 3. เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณ กำไรสุทธิเพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร | |
![]() | 4. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดหรือเงินได้จากการประกันภัย เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้ รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (13) แห่งประมวลรัษฎากร | |
![]() | 5. การบันทึกบัญชีของบริษัทฯ ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น